บันทึกการเรียนครั้งที่ 5
วันจันทร์ ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2561
เนื้อหาที่เรียน
กลุ่มที่ 7 เทคนิคการสอนแบบstoryline
Storyline เป็นการนำสาระการเรียนรู้จากหลากหลายเรื่องมาเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน
เพื่อจัดการเรื่องรู้ภายใต้หัวเรื่องเดียวกัน โดยผูกเรื่องเป็นตอนๆ
เรื่องแต่ละตอนจะต่อเนื่องกันและมีลำดับเหตุการณ์และเส้นทางการเดินเรื่อง
และใช้คำถามหลักเป็นการนำไปสู่การทำกิจกรรมอย่างหลากหลาย โดยการลงมือปฎิบัติ
เน้นการคิด วิเคราะห์ กระบวนการกลุ่ม
ลักษณะของ storyline
ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ทุกคนมีโอกาสแสดงความสามารถ
สร้างความตื่นตัวให้ผู้เรียนอยู่เสมอ
ฝึกทักษะพื้นฐานกับชีวิตจริง
สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ
ใช้ได้ดีกับการเรียนรู้ภาษา สิ่งแวดล้อม
ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
องค์ประกอบและลักษณะกิจกรรม
ฉาก แบ่งกลุ่มสร้างภาพ
สองมิติ สามมิติ
กำหนดรายการต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่
ร่วมกันอภิปรายภาพและสิ่งที่เกิดขึ้น
อภิปรายทั่วไปเกี่ยวกับสถานที่
โดยเงื่อนไขของเวลาต่างๆ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
ตัวละคร ช่วยกันสร้าง (วาด ประดิษฐ์)
ตัวละครที่กำหนดขึ้น
ช่วยกันเสนอแนะว่ามีใครบ้าง
ที่จำเป็นต้องมีอยู่ในเรื่องนี้
เล่าเขียนอธิบายลักษณะนิสัย
เพื่อนำไปเป็นเนื้อหาสาระการเรียนรู้ต่อไป
การดำเนินชีวิต ร่วมกันอภิปรายถึงวิถีชีวิต ของบุคคลต่าง ๆ
ในการดำเนินชีวิตตามลักษณะความเป็นอยู่
กิจวัตรประจำวัน การเดินทาง
เหตุการณ์ ผู้เรียนได้ข้อเสนอแนะถึงความเป็นไปได้
โดยการอภิปรายหรือถกเถียงร่วมกัน
ผู้เรียนสะท้อนภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
อธิบายเรื่องราวในแง่มุมต่าง ๆ
กฎระเบียบ ผู้เรียนอภิปรายถึงการกำหนดแนวทาง
หลักการปฏิบัติดำเนินชีวิตร่วมกัน ตามเนื้อหาสาระ
เขียน พิมพ์แนวทาง
แผนงาน นโยบาย กิจกรรม ข้อตกลง ปิดประกาศ แจ้งให้ทราบทั่วกัน
จังหวะเวลา ให้เหตุผลต่อเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น
ตามช่วงเวลาต่างๆ
พัฒนาแนวคิดต่างๆ โดยการอภิปราย
ปฏิบัติงานร่วมกันและบันทึกข้อมูล
เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น ผู้สอนและผู้เรียนร่วมสร้างสรรค์กิจกรรมที่นำไปสู่การสรุปเรื่องราวต่างๆ
ที่ทำให้ทุกคนมี ความสุข
เช่นงานเฉลิมฉลอง การมอบรางวัล
วางแผนกำหนดกิจกรรมให้สมบูรณ์เช่น
พิธีเปิด กำหนดการ จดหมายขอบคุณ การแสดง การนำเสนอผลงาน
การสะท้อนผลงาน ผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนสะท้อนความรู้สึกวิพากษ์ประเด็นสำคัญ
เปรียบเทียบความแตกต่าง สรุปความรู้ที่ได้จัดทำเอกสารเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์
สื่อสิ่งพิมพ์ หนังสือเล่มเล็ก แฟ้มสะสมาน
แนวทางการจัดกิจกรรม
-ศึกษาแลกเปลี่ยน
เรียนรู้ วิธีการจัด กิจกรรมแบบ storyline
-
ศึกษาตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ที่มีลักษณะหัวเรื่องโดยใช้เทคนิค storyline
เลือกแผนที่มีความเหมาะสมกับชั้นเรียน เพื่อทดลองสอน
-
เลือกแผนการจัดการเยนรู้ที่มีความยาวสลับซับซ้อนมากขึ้นมาทดลองอีก 2-3
แผนเพื่อให้ชำนาญ
-ทดลองเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ตามหัวข้อเรื่องที่สนใจผูกโยงเนื้อหาสาระการเรียนรู้ที่หลากหลาย
เข้าด้วยกัน
-
สร้างคำถามหลักเพื่อนำไปสู่การจัดการเรียนรู้แบบstoryline
ข้อดี
-ผู้เรียนพัฒนาตนเอง
สติปัญญา ความคิด การวิเคราะห์ สร้างสรรค์ แก้ไขปัญหา ตัดสินใจ สร้างความรู้
แสวงหาความรู้ การสื่อสาร การทำงานร่วมกัน
- Active Learning การคิดและลงมือปฏิบัติ ค้นพบ สืบสวน
สร้างจินตนาการ แก้ปัญหา ตัดสินใจ รับผิดชอบ
-ยอมรับคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
-การสื่อสาร
ข้อจำกัด
-หัวเรื่องที่สร้างขึ้นต้องเพียงพอที่จะสัมพันธ์เรื่องอื่นได้อย่างกว้างขวาง
-ไม่ควรสอนหลายๆหัวเรื่องไปพร้อมกัน
-ความร่วมมือ
-กิจกรรมต้องมีความหมายกับผู้เรียน
**เด็กได้ภาษาในการสื่อสาร**
…………………………………………………………………………………………………………
กลุ่มที่ 8 การสอนแบบวอลดอร์ฟ
ผู้ริเริ่มแนวการสอนที่รู้จักชื่อแพร่หลายแบบวอลดอร์ฟ
(Waldort)คือ รูดอร์ฟ สไตเนอร์(Rudolf Steiner) วิธีการสอนของสไตเนอร์หรือวอลดอร์ฟ
นั้นจัดเป็นการเรียนการสอนแบบเน้นกิจกรรมการเล่น คือ ดนตรี จังหวะ บทเพลง นิทาน
เพราะกิจกรรมเหล่านี้ช่วยส่งเสริมความคิดจินตนาการของเด็ก
และช่วยพัฒนาการการเคลื่อนไหวของร่างกาย
แนวการเรียนการสอนของโรงเรียนวอลดอร์ฟ
โรงเรียนแนวการเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟ
เป็นแนวการศึกษาที่บูรณาการวิชาการไปกับกิจกรรรมต่างๆ
โดยมีครูคอยดูแลและอำนวยความสะดวก
เน้นการจัดบรรยากาศในการเรียนการสอนที่เน้นความงดงามของธรรมชาติทั้งในกลางแจ้งและในห้องเรียน
โดยเชื่อว่าช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี
เพื่อพัฒนาให้เด็กเป็นมนุษย์ที่มีบุคลิกภาพที่สมดุลกลมกลืนไปกับโลกและสิ่งแวดล้อมและได้ใช้พลังงานทุกด้านอย่างพอเหมาะ
จุดเด่นของโรงเรียนแนวการสอนวอลดอร์ฟ
เป้าหมาย
คือ
ช่วยให้มนุษย์บรรลุศักยภาพสูงสุดที่ตนมีและสามารถกำหนดความมุ่งหมายและแนวทางแก่ชีวิตของตนได้อย่างอิสระ
เน้นเรื่องของการเชื่อมโยงมนุษย์กับจักรวาล
โดยมีมุมมองว่า เด็กควรได้เล่นอย่างอิสระ ชีวิตเรียบง่ายกลมกลืนกับธรรมชาติ
เน้นการสอนให้รู้จักจุดยืนที่สมดุลของตนในการใช้ชีวิตอยู่บนโลก โดยผ่านกิจกรรม 3
อย่างคือ กิจกรรมทางกาย ผ่านอารมณ์ความรู้สึก และผ่านการคิด
เน้นการให้เด็กได้ใช้พลังทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นสติปัญญา ด้านศิลปะ
และด้านการปฏิบัติอย่างพอเหมาะ
จะสอนตามพัฒนาการของเด็ก
โดยเฉพาะวัย 0-7 ปีเป็นวัยที่มีพัฒนาการทางกายมาก
จึงเน้นไปที่การเล่นเพื่อพัฒนาอวัยวะส่วน
สิ่งที่การเรียนแนววอลดอร์ฟเน้นมากคือ
"จินตนาการของเด็กคือการเรียนรู้" วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้จะต้องเป็นธรรมชาติ
เช่น ถ้าวาดรูป สีที่ใช้ก็จะมีแค่สีปฐมภูมิ คือ สีแดง สีน้ำเงิน สีเหลือง เท่านั้น
แนวคิดนี้จะทำให้เด็กมีจิตใจอ่อนโยน มองเห็นว่าโลก สิ่งแวดล้อม
และสรรพสิ่งเป็นสิ่งเดียวกันต้องช่วยกันรักษา
ซึ่งส่งเสริมให้เด็กรู้จักคิดวิเคราะห์เป็น
กิจกรรมที่มุ่งเน้นในโรงเรียนวอลดอร์ฟ
โรงเรียนแนววอลดอร์ฟมักจะเน้นไปที่การเรียนรู้แบบธรรมชาติ
ไม่มีห้องเรียน ไม่มีกระดานดำ แต่จะมีมุมต่างๆ ให้เด็กได้เรียนรู้
ได้เป็นอิสระที่จะคิดและสร้างสรรค์ หรือหากเด็กๆ ต้องการเล่นตุ๊กตา เล่นรถ
ในห้องก็จะมีข้าวของที่ทำจากธรรมชาติให้ประดิษฐ์ดัดแปลงเล่นกัน เช่น ผ้าหลากสี ท่อนไม้
เปลือกไม้ ลูกสน เป็นต้น ทุกอย่างจะถูกกำหนดให้เป็นได้สารพัดตามแต่ใจเด็กๆ
สภาพแวดล้อมในโรงเรียนวอลดอร์ฟ
รูดอร์ฟ
สไตเนอร์ นักปรัชญาชาวเยอรมัน ผู้ริเริ่มแนวการเรียนการสอนแนววอลดอร์ฟเชื่อว่า
สิ่งแวดล้อมที่ดีจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี โดยเฉพาะเด็กๆ ที่มีจิตใจละเอียดอ่อนจะซึมซับสิ่งแวดล้อมและเรียนรู้ได้ง่าย
ดังนั้นการจัดบรรยากาศทั้งในและนอกชั้นเรียนจึงเป็นเรื่องสำคัญ
มีการเน้นความงดงามตามธรรมชาติ เช่น การจัดสีที่นุ่มนวล
แสงสว่างจากธรรมชาติที่ไม่จัดจ้า ตลอดจนเสียงที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม เช่น นกร้อง
ใบไม้ไหว น้ำไหลริน หรือเสียงดนตรีที่ไพเราะ จะสร้างความรู้สึกอบอุ่น อ่อนโยน
และสดชื่นให้เกิดขึ้นในจิตใจเด็กเด็กจะมีพลังตื่นตัวและมีสมาธิในการเรียนรู้ได้ไม่ยาก
สิ่งที่เด็กได้รับจากการเรียนโรงเรียนวอลดอร์ฟ
การเรียนการสอนแนววอลดอร์ฟจะช่วยให้เด็กเติบโตเป็นมนุษย์ที่มีบุคลิกภาพสมดุลกลมกลืนกับโลกและสิ่งแวดล้อม
ให้เด็กได้พัฒนาทั้งร่างกายและจิตวิญญาณควบคู่กันไป
เด็กจะพัฒนาถึงศักยภาพสูงสุดของตนได้ โดยการเรียนรู้ของเด็กนั้นจะเป็นไปอย่างสมดุล
โดยการเรียนรู้ทางกาย(การลงมือทำ) หัวใจ(ความรู้สึก ความประทับใจ)
และสมอง(ความคิด)
**เชื่อว่าเด็กทุกคนมีศักยภาพในตัวเอง**
.............................................................................................................................................................
กลุ่มที่ 9 ภาษาธรรมชาติ
ที่มาของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
การสอนภาษาแบบธรรมชาติ เกิดจากหลักการ และแนวคิด ของนักศึกษา
นักวิจัยทางภาษาที่มีชื่อเสียง คือ Jean piaget ผู้เชื่อว่าการที่เด็กได้เคลื่อนไหวสัมผัสสิ่งต่างๆรอบตัวจะเป็นการคิดสร้างความรู้ขึ้นภายในตนหรือเด็กเป็นผู้กระทำ
ไม่ใช่การรับเข้าไปเฉยๆ การเรียนรู้ของเด็กเกิดจากอิทธิพลทางสังคม
และเชื่อว่าการสอนภาษาเป็นความสำคัญที่เด็กจะต้องใช้เพื่อการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันของเด็กและภาษามีความหมายต่อชีวิต
การเรียนภาษาจึงต้องมาจากสิ่งที่เป็นจริงและเกี่ยวข้องกับเด็ก
โดยเรียนภาษาแบบองค์รวมคือ เรียน ฟัง พูด อ่าน เขียนไปพร้อมกัน
การสอนภาษาแบบธรรมชาติ
การสอนภาษาแบบธรรมชาติคือ
การที่เด็กได้เรียนรู้ การใช้ภาษาทั้งด้านการ ฟัง พูด อ่าน เขียน
เป็นไปตามธรรมชาติอย่างมีความหมายสอดคล้องเหมาะสมกับวัย โดยไม่แยกว่าต้องอ่านก่อน เขียนก่อน
แต่จะเน้นให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง เช่นการอ่านนิทาน เล่าเรื่องราว
ฟังเรื่องเล่าจากเพื่อน ฟังนิทานจากครู เป็นต้น
ลักษณะการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
เด็กเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้
เด็กมีโอกาสเลือกกิจกรรมปฏิบัติอย่างอิสระ
ครูเป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้และร่วมมือจัดการเรียนการสอนระหว่างเด็กกับครู
ตั้งแต่วางแผนการเรียนว่า จะทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ใช้อุปกรณ์อะไร
และใครรับผิดชอบส่วนไหนบ้าง คำนึงถึงการมีปฏิสัมพันธ์ของเด็ก
เพราะเด็กจะต้องอยู่ในสังคม ห้องเรียนจึงเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสังคมให้กับเด็ก
สถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนแบบภาษาในระดับปฐมวัย
โรงเรียนเกษมพิทยาได้ค้นพบว่า
ปัจจุบันเด็กประถมวัยมีปัญหาการเรียนภาษา มีทัศนคติที่ไม่ดี เชื่อว่าเรียนภาษายาก
เพราะการสอนเด็กด้วยระบบเก่าเน้นทักษะและเน้นไวยากรณ์ โดยการแจกลูกผสมคำ
แต่เด็กกลับอ่านหนังสือไม่ออกในระดับประถมศึกษา ถึงแม้จะฝึกหนัก
การแก้ปัญหาดังกล่าวคือ
การเลือกใช้วิธีการสอนที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
เพราะการพัฒนาการทางสมองจะมีการทำงานแบบองค์รวม
…………………………………………………………………………………………………………
ประเมิน
อาจารย์ อาจารย์มีคำแนะนำให้กับทุกกลุ่มเพื่อนำไปปรับแก้ให้ดีขึ้น
เพื่อน
เพื่อนมีความตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์มอบหมาย
ตนเอง
การทำงานเป็นทีมและนำคำแนะนำมาปรับแก้ไขงานให้ดีขึ้น
………………………………………………………………………………………………………….
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น