วันอาทิตย์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561


บันทึกการเรียนครั้งที่ 2
วันจันทร์ ที่ 22 มกราคม  2561

เนื้อหาที่เรียน

นำเสนอเนื้อหาเป็นกลุ่มตามที่ได้รับมอบหมายหัวข้อ

กลุ่มที่ 1 พัฒนาการและคุณลักษณะตามวัยของเด็กปฐมวัย

ด้านร่างกาย
เด็กอายุ 3 ปี
- กระโดดขึ้นลงอยู่กับที่ได้
 - รับลูกบอลด้วยมือและลำตัว
-เดินขึ้นบันไดสลับเท้าได้
- เขียนรูปวงกลมตามแบบได้
- ใช้กรรไกรมือเดียวได้

เด็กอายุ 4 ปี
- กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ได้
 - รับลูกบอลได้ด้วยมือทั้งสอง
 - เดินขึ้น - ลงบันไดสลับเท้าได้
- เขียนรูปสี่เหลี่ยมตามแบบได้
- ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้
- กระฉับกระเฉงไม่ชอบอยู่เฉย

เด็กอายุ 5 ปี
- กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องได้
- รับลูกบอลที่กระดอนขึ้นจากพื้นได้ด้วยมือทั้งสอง
- เดินขึ้น - ลงบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว
- เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้

ด้านอารมณ์และจิตใจ
เด็กอายุ 3  ปี
- แสดงอารมณ์ตามความรู้สึก
- ชอบที่จะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและได้คำชม
- กลัวการพลัดพรากจากผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดน้อยลง

เด็กอายุ 4  ปี
- แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับบางสถานการณ์
- เริ่มรู้จักชื่นชมความสามารถ ผลงานของตนเองและผู้อื่น
- ต้องการให้มีคนฟัง คนสนใจ

เด็กอายุ 5  ปี
- แสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสม
- ชื่นชมผลงานของตนเองและผู้อื่น
- ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง
- เล่นหรือทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกับผู้อื่นได้
- รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

ด้านสังคม
เด็กอายุ 3  ปี
- รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง
- ชอบเล่นแบบคู่ขนาน (เล่นของเล่นชนิดเดียวกัน แต่ต่างคนต่างเล่น)
- เล่นสมมุติได้
- รู้จักรอคอย

เด็กอายุ 4  ปี
- แต่งตัวได้ด้วยตนเอง ไปห้องส้วมได้เอง
- เล่นร่วมกับคนอื่นได้
- รอคอยตามลำดับก่อน -หลัง
- แบ่งของให้คนอื่น
- เก็บของเล่นเข้าที่ได้

เด็กอายุ 5  ปี
- ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง
- เล่นหรือทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกับผู้อื่นได้
- พบผู้ใหญ่ รู้จักไหว้ ทำความเคารพ
- รู้จักขอบคุณ เมื่อรับของจากผู้ใหญ่
- รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

ด้านสติปัญญา
เด็กอายุ 3  ปี
- สำรวจสิ่งต่างๆ ที่เหมือนกันและต่างกันได้
- บอกชื่อของตนเองได้
- สนทนาโต้ตอบ/เล่าเรื่องด้วยประโยคสั้นๆ ได้
- ร้องเพลง ท่องกลอน คำคล้องจองง่ายๆ และแสดงท่าทางเลียนแบบได้
- รู้จักใช้คำถาม อะไร

เด็กอายุ 4  ปี
- จำแนกสิ่งต่างๆ ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้
- สนทนาโต้ตอบ/เล่าเรื่องเป็นประโยคอย่างต่อเนื่อง
- สร้างผลงานตามความคิดของตนเอง โดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น
- รู้จักใช้คำถาม ทำไม

เด็กอายุ 5  ปี
- บอกความแตกต่างของกลิ่น สี เสียง รส รูปร่างจำแนกและจัดหมวดหมู่สิ่งของได้
- พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
- รู้จักใช้คำถาม ทำไม” “อย่างไร
- เริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม
…………………………………………………………………………………………………………

กลุ่มที่ 2 ความสนใจและความต้องการของเด็กปฐมวัย

ความต้องการ ความสนใจและการเล่นของเด็กปฐมวัย
เด็กปฐมวัยเป็นวัยเริ่มต้นของชีวิตที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาความเป็นมนุษย์  การสร้างรากฐานที่ดีทั้งทางร่างกาย และจิตใจให้กับเด็กในวันนี้จึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะช่วงอายุแรกเกิด ถึง6 ปีเป็นระยะที่มีความสำคัญช่วงหนึ่งในการวางรากฐานคุณภาพชีวิตของเด็ก ด้วยเหตุที่เด็กปฐมวัยมีธรรมชาติและลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากบุคคลวัยอื่น ๆ
ความต้องการ      ความต้องการเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต ความต้องการเกิดขึ้นเมื่อร่างกายขาดความสมดุล     ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทาให้ร่างกายเกิดความเครียด ไม่เป็นสุข ดังนั้นร่างกายจึงต้องมีการกระทาเกิดขึ้นเพื่อให้ร่างกายกลับสู่สภาวะสมดุลตามปกติ

ชนิดของความต้องการ
1.ความต้องการของแต่ละคน (Individual Needs )
   1.1 ความต้องการทางอินทรีย์
   1.2 ความต้องการที่จะสร้างบุคลิกภาพ
                -ความต้องการที่จะรักคนอื่นและให้คนอื่นรักตน
-ความต้องการความปลอดภัย
-ความต้องการการมีส่วนร่วม หรือเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
-ความต้องการความสัมฤทธิ์ผลหรือต้องการให้บรรลุจุดมุ่งหมายของตน

ความต้องการทางสังคม (Social Need)  ได้แก่ ความต้องการความปลอดภัยทางเศรษฐกิจ การนับหน้าถือตา ความนิยมชมชื่น ความเป็นมิตรภาพต่อกัน และความต้องการในสมบูรณาการ (Integration) ซึ่งเป็นความต้องการที่เป็นความสุขของชีวิตตามอุดมคติ
-ความต้องการของเด็กปฐมวัย
-ความต้องการพื้นฐานทางกาย เพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่
-ความต้องการความอิสระ ควบคู่ไปกับความต้องการพื้นฐานทางกาย
-ความต้องการผลสัมฤทธิ์ มักจะต้องการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทั้งสิ้น
-ความต้องการประสบการณ์ที่ท้าทาย
-ความต้องการมีเพื่อน เด็กปฐมวัยส่วนใหญ่ชอบอยู่ใกล้ชิดกับผู้อื่น

ความสนใจ หมายถึง ความรู้สึกหรือเจตคติของบุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ ความรู้สึกนั้นทาให้บุคคลเอาใจใส่และกระทำการจนบรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่บุคคลมีต่อสิ่งนั้น     
สิ่งที่เด็กปฐมวัยสนใจนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ตัวของเด็กนั่นเอง ที่เป็นเช่นนี้ เพราะเด็กปฐมวัยยังมีลักษณะของการยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง นอกจากนี้ ช่วงเวลาของความสนใจของเด็กปฐมวัย       จะค่อนข้างสั้น โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 2 – 3 นาที จึงเห็นได้ว่าเด็กในวัยนี้ชอบที่จะเปลี่ยนกิจกรรมอยู่ตลอดเวลา
…………………………………………………………………………………………………………

กลุ่มที่ 3 การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนพฤติกรรมซึ่งเป็นผลมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม หรือจากการฝึกหัด รวมทั้งการเปลี่ยนปริมาณความรู้ของผู้เรียน    มีองค์ประกอบ 3 อย่าง คือ 1) มนุษย์ต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจาก ไม่รู้เป็น รู้”  “ทำไม่ได้เป็น ทำได้” “ไม่เคยทำเป็น ทำ” 2) การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมนั้นต้องเป็นไปอย่างถาวร 3) การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้น เกิดจากประสบการณ์การฝึกฝนและการฝึกหัด ไม่ใช่จากเหตุอื่นๆนอกจากนั้น

เด็กปฐมวัย คือ   เด็กปฐมวัย (Early Childhood) เป็นคำที่ใช้เรียกเด็กที่มีอายุตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึง 6 ปี ซึ่งอยู่ในวัยที่คุณภาพของชีวิทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญากำลังเริ่มต้นพัฒนาอย่างเต็มที่
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์
       เพียเจท์  กล่าวถึง การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากการทำงานของโครงสร้างทางปัญญา เป็นวิธีที่เด็กจะเริ่มต้นด้วยความสัมพันธ์ระหว่างตัวเองกับสิ่งแวดล้อม เพียเจท์ได้มองการเล่นเป็นกระบวนการพัฒนาทางสติปัญญา ซึ่งกระบวนการพัฒนาทางสติปัญญา และลักษณะของการเล่นนั้น จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน  เพียเจท์ได้แบ่งพัฒนาการทางสติปัญญาออกเป็น  4  ขั้น
1.       ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว
2.       ขั้นความคิดก่อนปฏิบัติการ
3.       ขั้นปฏิบัติการคิดแบบรูปธรรม
4.       ขั้นปฏิบัติการคิดแบบนามธรรม      

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของไวกอสกี้ 
กล่าวว่า เด็กจะเกิดการเรียนรู้  พัฒนาสติปัญญาและทัศนคติเมื่อมีการปฏิสัมพันธ์และทำงานร่วมกับผู้อื่น  หากเด็กต้องเผชิญกับปัญหาที่ท้าทายแต่ไม่สามารถคิดแก้ปัญหาโดยลำพัง  แต่ถ้าได้รับการช่วยเหลือแนะนำจากผู้ใหญ่หรือเพื่อนที่มีประสบการณ์มาก่อน  เด็กจะสามารถแก้ปัญหานั้นและจะเกิดการเรียนรู้ได้

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์
เชื่อว่า ครูสามารถจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยเพื่อให้เด็กเกิดความพร้อมที่จะเรียนได้ โดยต้องคำนึงถึงทฤษฎีพัฒนาการว่าเป็นตัวเชื่อมระหว่างความรู้และการสอน กล่าวคือพัฒนาการจะเป็นตัวกำหนดเนื้อหาความรู้และวิธีการสอน   หรือกิจกรรมการเรียนการสอนต้องสอดคล้องกับพัฒนาการและความสามารถของเด็กเป็นหลัก จึงได้แบ่งขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัยออกเป็น 3 ขั้นตอน
1.       ขั้นการเรียนรู้ด้วยการกระทำ
2.       ขั้นการเรียนรู้ด้วยภาพและจินตนาการ
3.       ขั้นการเรียนรู้ด้วยสัญลักษณ์

หลักการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
1.  จัดประสบการณ์การเล่นและการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กโดยองค์รวมอย่างต่อเนื่อง
2.  เน้นเด็กเป็นสำคัญ สนองความต้องการ ความสนใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคล และบริบทของสังคมที่เด็กอาศัยอยู่
3.  จัดให้เด็กได้รับพัฒนาโดยให้ความสำคัญทั้งกับกระบวนการและผลผลิต  

แนวการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
1.  จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับจิตวิทยาพัฒนาการ
2.  จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ของเด็กวัยนี้
3.  จัดประสบการณ์ในรูปแบบบูรณาการ
4.  จัดประสบการณ์ให้เด็กได้ริเริ่ม คิด วางแผน ตัดสินใจ ลงมือกระทำ และนำเสนอความคิด
5.  จัดประสบการณ์ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กอื่น กับผู้ใหญ่
6.  จัดประสบการณ์ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อและแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายและอยู่ในวิถีชีวิตของเด็ก           
7.  จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดีและทักษะการใช้ชีวิตประจำวันและสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม   
8. จัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน ให้มีมุมเล่น หรือมุมประสบการณ์ หรือศูนย์การเรียนต่าง ๆ ให้เด็กได้มีโอกาสเล่นร่วมกับผู้อื่น
…………………………………………………………………………………………………………

กลุ่มที่ 4 การสอนแบบโครงการ

การสอนแบบโครงการเป็นการจัดการเรียนการสอนที่มีลักษณะสำคัญดังนี้ ความคิดพื้นฐานเชื่อว่า การเรียนรู้ของเด็กมาจากการกระทำ เด็กเป็นผู้ที่ต้องพัฒนา มีความคิด มีความมุ่งหมาย ความต้องการที่จะเรียนรู้ทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นของตนเองต้องพึ่งตนเอง การสอนแบบโครงการมุ่งพัฒนาทางร่างกายและจิตใจของเด็กไปพร้อมกัน วิธีจัดการเรียนการสอนมี 4 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เด็กจะร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจ
ระยะที่ 2 ระยะวางแผนโครงการ เป็นช่วงเวลาที่กำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการเรียนรู้อะไร กำหนดขอบเขตเนื้อหา ระยะเวลาและวิธีการศึกษา
ระยะที่ 3 ดำเนินโครงการตามที่กำหนดไว้ ที่เน้นระบวนการแก้ปัญหา จัดเป็นหัวใจของการสอนแบบโครงการ เพราะเด็กจะได้รับข้อมูลใหม่จากประสบการณ์ตรงหรือเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานเพราะเด็กได้สนทนา พูดคุยกับบุคคล และสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ ขณะเดียวกันเด็กสามารถค้นความรู้จากแหล่งข้อมูลรอง (Secondary Sources) เช่น การดูวีดีทัศน์ การอ่านหนังสือ เป็นต้น
 ระยะที่ 4 สรุปโครงการ ครูและเด็กร่วมวางแผนสรุปโครงการ เป็นขั้นตอนการประเมินโครงการ ทบทวนการปฏิบัติ และวางแผนโครงการใหม่ วิธีการสรุปโครงการอาจจะให้เด็กนำผลงานที่ได้รับมอบหมายมาแสดงต่อครูแล้วอภิปรายประเด็นปัญหา หรือให้เด็กนำเสนอผลงาน ในรูปของการจัดแสดง จัดเป็นนิทรรศการ หรือสาธิตผลงาน
มีกิจกรรมหลักในโครงการ 4 กิจกรรมคือ กิจกรรมสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน กิจกรรมทัศนศึกษา กิจกรรมสืบค้น และกิจกรรมนำเสนอผลงาน กิจกรรมสืบค้นมีหลากหลายได้แก่ การรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การสัมภาษณ์ การปฏิบัติทดลอง การรวบรวมเอกสาร การรายงาน การจัดแสดงผลงานที่ได้จากโครงการ เป็นต้น เรื่องที่จะเรียนมาจากความสนใจของเด็กที่ต้องการเรียนอย่างลุ่มลึก เด็กจึงเป็นผู้วางแผนและร่วมคิด ร่วมมือสืบค้นกับผู้อื่น ครูเป็นผู้สนับสนุน สังเกตและอำนวยความสะดวก หากเรื่องนั้นมีความเป็นไปได้ มีแหล่งข้อมูลเพียงพอ พ่อแม่และชุมชนมีความพร้อมที่จะร่วมมือ ทักษะการเรียนรู้หนังสือจำนวน ให้บูรณาการในหัวเรื่องโครงการ รวมทั้งวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษา ดังนั้น หัวเรื่องหนึ่งที่เด็กสนใจเรียนรู้นั้นต้องมีเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์และควรสำรวจที่โรงเรียนเหมาะกว่าที่บ้าน
…………………………………………………………………………………………………………

ทักษะ
-ทักษะการฟัง
-ทักษะการคิด

ประเมิน
อาจารย์  มีข้อแนะให้กับคนที่ออกไปนำเสนอทุกกลุ่มเพื่อนำไปปรับปรุงสำหรับครั้งต่อไป
เพื่อน  เพื่อนมีความเตรียมตัวในกรออกมานำเสนอค่อนข้างดีทุกกลุ่ม
ตนเอง  ได้นำคำแนะนำของอาจารย์ไปปรับใช้กับตนเอง
…………………………………………………………………………………………………………

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น